สสว.จับมือผนึกกำลัง ส.อ.ท. เปิดตัว SME Soft Power อย่างสร้างสรรค์และยิ่งใหญ่ ส่งเสริมเสน่ห์สินค้าไทยสู่ระดับสากล 

นายอภิชิต ประสพรัตน์ กรรมการบริหารสถาบันวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) และรองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) ให้สัมภาษณ์กับ Buri  Ram Post ว่า โครงการพัฒนาผู้ประกอบการ SME ด้วย Soft Power” นี้จะเป็นการผลักดันซอฟท์พาวเวอร์ไทยสู่สากล โดยเริ่มต้นที่บุรีรัมย์ตัวแทนภาคอีสานเป็นแห่งแรก

เมื่อวันที่ 11 กันยายน 2567 เวลา 13.30 น  ที่โรงแรมเทพนคร อ.เมือง จ.บุรีรัมย์   เปิดตัวโครงการ SME Soft Power สำหรับชาวบุรีรัมย์ จังหวัดไกล้เคียง ทั่วไทย ทั่งโลก

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อต้องการพัฒนาผู้ประกอบการ SME โดยเฉพาะผู้ที่ยังไม่ได้ขึ้นทะเบียนเป็นสมาชิกรายบุคคลกับ สสว. ซึ่งก็คือกลุ่มผู้ประกอบการ SME รายใหม่เหล่านี้ บางคนก็อาจยังไม่ทราบ ไม่เข้าใจว่าแนวทางในการประกอบอาชีพอย่างไร หรืออาจยังไม่รู้ว่าจะหาแหล่งเงินทุนได้จากที่ใดบ้าง  และจะประกอบธุรกิจทำให้กิจการประสบความสำเร็จ มีกำไร หรือไม่ และขาดทุนอย่างไร โครงการพัฒนา SME นี้มุ่งเน้นการพัฒนา Soft Power ริเริ่มใน 4 สาขาหลัก ได้แก่ อาหาร  การออกแบบแฟชั่น เช่น ผ้าไหม ผ้าไทย  การท่องเที่ยว และภาพยนตร์ เพื่อสนับสนุน และตอบสนองนโยบายของรัฐบาลในการส่งเสริม Soft Power ให้กับสมาชิกผู้ประกอบการธุรกิจภาค SME ให้มีการพัฒนาอย่างมีศักยภาพและต่อยอดการเจริญเติบโตต่อไปในอนาคต

นอกจากนี้ ยังมีการจัดประกวดผลิตภัณฑ์และสินค้า SME เพื่อแข่งขันคัดเลือกผู้ที่เหมาะสมในการรับรางวัล “SME Soft Power Star” ซึ่งจะจัดขึ้นในเดือนธันวาคมปีนี้ที่กรุงเทพมหานคร หลังจากการพัฒนาสินค้าและบริการ SME เสร็จสิ้นแล้ว ผลิตภัณฑ์และบริการเหล่านี้จะถูกนำไปโปรโมทหรือส่งเสริมการขาย และจัดจำหน่ายทั้งในประเทศและต่างประเทศ รวมถึงการจัดทำเอกสารเป็นแคทตาล็อค ภาษาไทยและอังกฤษเพื่อส่งเสริมการขาย โดยมีความร่วมมือกับสำนักงานการค้าระหว่างประเทศเพื่อสนับสนุนสินค้าไทยให้เป็นที่รู้จักในระดับสากล

โครงการนี้มีเป้าหมายในการพัฒนาผู้ประกอบการ SME จำนวน 740 รายทั่วประเทศ โดยเริ่ม Kick Off ที่จังหวัดบุรีรัมย์เป็นแห่งแรก เนื่องจากจังหวัดบุรีรัมย์ในภาคอีสานตอนล่างที่มีศักยภาพในการผลิตสินค้าและบริการภาคธุรกิจ SME จากนั้นก็จะนำจะขยายต่อไปยังกลุ่มจังหวัดอื่น ๆ ทั้งหมด 18 กลุ่มจังหวัดทั่วประเทศ โดย สสว. มีแผนการเริ่มขยับขยายไปยังภาคเหนือที่จังหวัดเชียงใหม่  ภาคกลางที่จังหวัดเพชรบุรี และกรุงเทพมหานคร  ภาคตะวันออกที่จังหวัดจันทบุรี และภาคใต้ที่จังหวัดสงขลา เป็นต้นเพื่อเป็นการพัฒนาต่อยอดสินค้าและบริการ SME และทำให้เกิดการ Start Up ภายใน 2-3 ปีนี้สำหรับโครงการ สสว. นี้

สำหรับงานการเปิดตัวโครงการ SME Soft Power ที่จังหวัดบุรีรัมย์ในวันนี้เป็นการส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์และความมีเสน่ห์ของผลิตภัณฑ์สินค้าไทย SME โดย สสว. ร่วมกับสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย จัดงานเปิดตัวโครงการนี้ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่จังหวัดบุรีรัมย์เป็นแห่งแรก ซึ่งโครงการนี้ครอบคลุมใน 4 สาขาหลัก ได้แก่ การออกแบบแฟชั่น เช่น ผ้าไทย ผ้าไหม  ภาพยนตร์ (รวมถึงการผลิตเนื้อหา  การตัดต่อ ระบบแสงสีเสียง การจัดการแต่งหน้าผู้แสดง ชุดประกอบฉากและสถานที่ถ่ายทำ)  สาขาอาหารไทย และสาขาการท่องเที่ยว (ระบบจองแบบแพลตฟอร์มการท่องเที่ยว  สถนที่ท่องเที่ยว ของที่ระลึก การแสดงศิลปะวัฒนธรรม ไกด์ และช่างภาพ)

นอกจากนี้ ในงานกิจกรรมครั้งนี้ได้มีการจัดเสวนากับผู้ประกอบการธุรกิจที่ประสบความสำเร็จในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ SME จากภาคอีสานตอนล่าง ซึ่งเป็นผู้แทนจาก  5 สาขาธุรกิจเข้าร่วม ไม่ว่าจะเป็นด้านอาหาร การออกแบบแฟชั่น การท่องเที่ยว และอุตสาหกรรมภาพยนตร์ ผู้แทนเหล่านี้ได้แสดงทัศนะและแบ่งปันประสบการณ์เกี่ยวกับการดำเนินธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ เช่น การผลิตอาหารกุ้งจ่อม  การผลิตกล้วยฉาบ การทำกุนเชียง  การผลิตภาพยนตร์เชิงท้องถิ่น เพื่อการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม (รวมถึง ลูกชิ้นยืนกิน ที่เป็น Soft Power ที่โด่งดังมาแล้วจากการโปรโมทโดยศิลปินระดับโลก ลิซ่าหรืออลิสา มโนบาลชาวบุรีรัมย์ ) และการออกแบบแฟชั่นผ้าไหมและผ้าไทยที่มีความโดดเด่น

ในขณะเดียวกัน ก็มีการประชุมเชิงปฏิบัติการเป็นสนทนากลุ่ม Focus Group สำหรับผู้ประกอบการจำนวน 45 รายในกลุ่มจังหวัด นครชัยบุรินทร์ ในภาคอีสานตอนล่าง  ที่มาจากจังหวัดนครราชสีมา ชัยภูมิ บุรีรัมย์ และสุรินทร์  เพื่อหาแนวทางพัฒนาผู้ประกอบการในภูมิภาคนี้ โดยได้รับความร่วมมือจากผู้เชี่ยวชาญจากหน่วยงานภาครัฐและสถาบันการศึกษาในการพัฒนาสร้างสรรค์และต่อยอดสินค้าและบริการในกลุ่ม SME ที่มีศักยภาพด้านการเสริมสร้าง Soft Power ให้แก่ผู้ประกอบการในจังหวัดบุรีรัมย์และพื้นที่ใกล้เคียงในภาคอีสานตอนล่างเป็นอันดับแรก 

ในงานเปิดตัวโครงการพัฒนาผู้ประกอบการธุรกิจ SME ของ สสว.ครั้งนี้ ได้รับเกียรติจากคุณอภิชิต ประสงค์รัฐ กรรมการบริหารสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) ซึ่งดำรงตำแหน่งรองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ที่ได้กล่าวกับ Buri Ram Post ว่า งานนี้เป็นการบ่มเพาะและส่งเสริมธุรกิจ SME  เพื่อให้เป็น Soft Power ขยายตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศ เป็นการพัฒนากลุ่มจังหวัดที่มีผู้ประกอบการ SME รายใหม่ๆ  ที่ดำเนินธุรกิจด้านอาหาร การท่องเที่ยว การออกแบบแฟชั่น และการผลิตภาพยนตร์ให้เติบโตอย่างยั่งยืน และช่วยเสริมสร้างศักยภาพให้แก่เศรษฐกิจไทย โดยเป็นการเปิดช่องทางหาแหล่งเงินทุนให้กับผู้ประกอบการ SME อีกด้วย

การพัฒนาของ สสว. ในครั้งนี้หวังว่าจะเป็นการผลักดันให้ผู้ประกอบการ SME สามารถขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศได้อย่างต่อเนื่อง ครอบคลุมทั่วทุกภาคของประเทศ ไม่ว่าจะเป็นภาคอีสานตอนบน ตอนกลาง หรือตอนล่าง ภาคเหนือ ภาคตะวันออก ภาคใต้และภาคกลาง ซึ่งจะทำให้ธุรกิจ SME กลายเป็นจุดแข็งและเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศไทย

ในส่วนของการริเริ่ม Start Up ครั้งนี้ เป็นความก้าวหน้าของโครงการในภาคอีสานตอนล่างที่จังหวัดบุรีรัมย์ เป็นการสร้างฐานการเติบโตที่สำคัญสำหรับการขยายตัวต่อไปในภาคอื่นๆ ของประเทศต่อไปอีกด้วย สำหรับผู้เข้าร่วมเสวนาบนเวทีครั้งนี้ มีจำนวน 5 ท่าน ซึ่งล้วนเป็นผู้ประกอบการธุรกิจ SME ที่มีความสำเร็จโดดเด่นในภาคอีสานตอนล่างได้แบ่งปันประสบการณ์ในการบริหารธุรกิจ SME ที่สามารถเติบโตได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ส่วนงานปิดโครงการ “พัฒนา SME Soft Power” ของ สสว.นี้ก็จะจัดขึ้นในวันที่ 2 ธันวาคมนี้ ที่ศูนย์การค้าเซ็นทรัล พระราม 9 กรุงเทพมหานคร โดยงานนี้จะเป็นการสรุปผลและแสดงผลงานของผู้ประกอบการ SME ที่เข้าร่วมโครงการและได้รับการพัฒนาศักยภาพรวมถึงผู้ประกอบการที่ได้รับรางวัล SME Soft Power Star ในปีนี้  ส่วนงานปิดโครงการพัฒนา SME Sock Power ครั้งนี้ก็จะเสร็จสิ้นในเดือน วันที่ 2 ธันวาคม 2567 ซึ่งจะจัดงานปิดโครงการที่เซ็นทรัลพระราม 9 กรุงเทพมหานคร 

การพัฒนา SME: โครงการส่งเสริม Soft Power และการสร้างโอกาสใหม่ให้กับผู้ประกอบการในภาคอีสานตอนล่าง กลุ่มนครชัยบุรินทร์ มีผู้ประกอบการประมาณ 43 ถึง 45 รายซึ่งรวมถึงพื้นที่ จังหวัดนครราชสีมา ชัยภูมิ บุรีรัมย์ และสุรินทร์ มีการดำเนินงานพัฒนาผู้ประกอบการ SME ใน 4 สาขาหลัก ได้แก่ อาหาร การท่องเที่ยว ภาพยนตร์ และการออกแบบแฟชั่น โครงการนี้มุ่งเน้นที่การส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพของผู้ประกอบการ SME รายใหม่ๆ ซึ่งจะครอบคลุมกลุ่มเป้าหมาย 18 กลุ่มจังหวัดทั่วประเทศ โดยมีเป้าหมายในการพัฒนาผู้ประกอบการใหม่และมีศักยภาพ จำนวน 740 รายทั่วประเทศ แล้ว สสว. ก็จะมีการคัดเลือกและการประกาศรางวัล ภายใต้โครงการนี้ จะมีการคัดเลือกผู้ประกอบการที่โดดเด่นเพื่อรับรางวัล SME Soft Power Star จำนวนประมาณ 76 รายจากทั่วประเทศ  ผลิตภัณฑ์และบริการที่ได้รับรางวัลจะถูกบันทึกและผลิตในแคตตาล็อกสองภาษา เพื่อการจำหน่ายทั้งในประเทศและต่างประเทศ ผู้ชนะในแต่ละสาขาจะได้รับโล่รางวัล ในวันปิดโครงการ

จากการเสวนาและกิจกรรมการแบ่งปันประสบการณ์ในงานเสวนาในวันนี้ ผู้ประกอบการที่ประสบความสำเร็จจากการผลิตกล้วยฉาบ กุ้งจ่อม กุนเชียง การท่องเที่ยว และบทภาพยนตร์ รวมถึงการออกแบบแฟชั่น ได้มาร่วมแบ่งปันประสบการณ์และแนวทางในการดำเนินธุรกิจ ซึ่งเป็นการจุดประกายStart Up และกระตุ้นการพัฒนาในพื้นที่ กรณีศึกษาที่สำคัญ หนึ่งในกรณีศึกษาที่น่าสนใจคือการโปรโมทลูกชิ้นยืนกินซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของจังหวัดบุรีรัมย์ โดยดาราศิลปิน K-pop เกาหลี ลิซ่า มโนบาล การโปรโมทนี้ทำให้ลูกชิ้นยืนกินได้รับความสนใจจากทั้งในและต่างประเทศ และเป็นตัวอย่างของการเปลี่ยนวิกฤตให้เป็นโอกาสคือช่วยให้ธุรกิจที่กำลังเผชิญปัญหาได้กลับมาฟื้นฟูอีกครั้ง

นอกจากการส่งเสริม Soft Power ผ่านการโปรโมทลูกชิ้นยืนกินบุรีรัมย์แล้ว โครงการนี้ยังมุ่งเน้นการพัฒนาสินค้า OTOP ของจังหวัดในภาคอีสานตอนล่างการพัฒนาสินค้า OTOP  เพื่อให้ได้รับการสนับสนุนเป็น Soft Power   โดยการพัฒนาและส่งเสริมสินค้าในกลุ่มนี้จะช่วยสร้างความแข็งแกร่งให้กับเศรษฐกิจท้องถิ่นและเปิดโอกาสใหม่ๆ ให้กับผู้ประกอบการ

นายวรพงษ์ บุษบา เจ้าหน้าที่จากสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย กล่าวว่า Buri Ram Post  ว่าในกลุ่ม 18 จังหวัดนี้ แต่ละกลุ่มจะมีจำนวน 43-45 รายที่ทำธุรกิจ SME โดยโครงการนี้จะมีการสนับสนุนจากผู้เชี่ยวชาญเพื่อยกระดับความแข็งแกร่งของ SME การสนับสนุนนี้เป็นความร่วมมือระหว่างจังหวัดบุรีรัมย์ สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) และสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยที่มีส่วนร่วมและมีบทบาทของหน่วยงานที่สำคัญในการสนับสนุนโครงการนี้ 

พัชรียา รักษาการผู้อำนวยการ สสว. กล่าวถึง สำหรับความตั้งใจของ สสว. หรือความมุ่งมั่นในการพัฒนาผู้ประกอบการ SME โดยมีเป้าหมายในการพัฒนา 740 รายทั่วประเทศว่าบางรายอาจพร้อมสำหรับการทำตลาดทันที ในขณะที่บางรายต้องการการพัฒนาเพิ่มเติมก่อนที่จะสามารถเข้าสู่ตลาดได้อย่างมีประสิทธิภาพ การพัฒนา SME จะครอบคลุมหลากหลายประเภท เช่น อาหาร การออกแบบแฟชั่น การท่องเที่ยว และภาพยนตร์ โดยมีการสนับสนุนทั้งในด้านการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ การทำตลาด และการสร้างเครือข่ายที่จำเป็นสำหรับการเติบโตอย่างยั่งยืน ถือว่า เป็นการสร้างโอกาสจากโครงการนี้ไม่เพียงแต่เป็นการเริ่มต้นที่ดีในการพัฒนาธุรกิจ SME แต่ยังเป็นการสร้างโอกาสในการขยายตลาดและการสร้างความยั่งยืนให้กับเศรษฐกิจของประเทศ  แล้วจะมีการติดตามและประเมินผลการดำเนินงานที่จะช่วยให้โครงการนี้สามารถปรับปรุงและพัฒนาได้อย่างต่อเนื่อง

ภายใต้การส่งเสริมและพัฒนาการเริ่มต้นเป็นผู้ประกอบการ SME ด้วย Soft Power ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ(อีสาน) ณ จังหวัดบุรีรัมย์ เป็นแห่งแรกของ 5 ภูมิภาค สำหรับภาคตะวันออกเฉียงเหนือ(อีสาน) ดำเนินการใน 5 กลุ่มจังหวัดคือ กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 1 (อุดรธานี หนองบัวลำภู หนองคาย เลยและ บึงกาฬ) กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 2 (มุกดาหาร สกลนครและ นครพนม)  กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนกลาง (ขอนแก่น มหาสารคาม ร้อยเอ็ดและกาฬสินธุ์)  กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 1 (นครราชสีมา ชัยภูมิ บุรีรัมย์ สุรินทร์) กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 2 (อุบลราชธานี อำนาจเจริญ ศรีษะเกษ และยโสธร)

ทั้งนี้ ผู้ประกอบการที่สนใจสามารถสมัครได้ที่ bit.ly/smeSP หรือสอบถามไปยังสภาอุตสาหกรรมจังหวัดได้ทุกจังหวัดตามพื้นที่ดำเนินการอยู่ และ สสว. คาดหวังให้โครงการนี้ เกิดประโยชน์และบรรลุเป้าหมายตามที่ทุกฝ่ายตั้งไว้ เกิดผู้ประกอบการใหม่ที่มีศักยภาพ พร้อมจะเติบโตเป็นกำลังสำคัญของประเทศต่อไป  หรือผู้สนใจสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) โทรศัพท์ 02-142-9114  สถาบัน SMI สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย โทร.02- 345-1093 หรือ 02-345-1049 Call center 1453

ภาพ/ข่าว : พิษณุ เทพทอง /เดอะอิสระนิวส์