นายอภิชิต ประสพรัตน์ กรรมการบริหารสถาบันวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) และรองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) ให้สัมภาษณ์กับ Buri Ram Post ว่า โครงการพัฒนาผู้ประกอบการ SME ด้วย Soft Power” นี้จะเป็นการผลักดันซอฟท์พาวเวอร์ไทยสู่สากล โดยเริ่มต้นที่บุรีรัมย์ตัวแทนภาคอีสานเป็นแห่งแรก
เมื่อวันที่ 11 กันยายน 2567 เวลา 13.30 น ที่โรงแรมเทพนคร อ.เมือง จ.บุรีรัมย์ เปิดตัวโครงการ SME Soft Power สำหรับชาวบุรีรัมย์ จังหวัดไกล้เคียง ทั่วไทย ทั่งโลก
โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อต้องการพัฒนาผู้ประกอบการ SME โดยเฉพาะผู้ที่ยังไม่ได้ขึ้นทะเบียนเป็นสมาชิกรายบุคคลกับ สสว. ซึ่งก็คือกลุ่มผู้ประกอบการ SME รายใหม่เหล่านี้ บางคนก็อาจยังไม่ทราบ ไม่เข้าใจว่าแนวทางในการประกอบอาชีพอย่างไร หรืออาจยังไม่รู้ว่าจะหาแหล่งเงินทุนได้จากที่ใดบ้าง และจะประกอบธุรกิจทำให้กิจการประสบความสำเร็จ มีกำไร หรือไม่ และขาดทุนอย่างไร โครงการพัฒนา SME นี้มุ่งเน้นการพัฒนา Soft Power ริเริ่มใน 4 สาขาหลัก ได้แก่ อาหาร การออกแบบแฟชั่น เช่น ผ้าไหม ผ้าไทย การท่องเที่ยว และภาพยนตร์ เพื่อสนับสนุน และตอบสนองนโยบายของรัฐบาลในการส่งเสริม Soft Power ให้กับสมาชิกผู้ประกอบการธุรกิจภาค SME ให้มีการพัฒนาอย่างมีศักยภาพและต่อยอดการเจริญเติบโตต่อไปในอนาคต
นอกจากนี้ ยังมีการจัดประกวดผลิตภัณฑ์และสินค้า SME เพื่อแข่งขันคัดเลือกผู้ที่เหมาะสมในการรับรางวัล “SME Soft Power Star” ซึ่งจะจัดขึ้นในเดือนธันวาคมปีนี้ที่กรุงเทพมหานคร หลังจากการพัฒนาสินค้าและบริการ SME เสร็จสิ้นแล้ว ผลิตภัณฑ์และบริการเหล่านี้จะถูกนำไปโปรโมทหรือส่งเสริมการขาย และจัดจำหน่ายทั้งในประเทศและต่างประเทศ รวมถึงการจัดทำเอกสารเป็นแคทตาล็อค ภาษาไทยและอังกฤษเพื่อส่งเสริมการขาย โดยมีความร่วมมือกับสำนักงานการค้าระหว่างประเทศเพื่อสนับสนุนสินค้าไทยให้เป็นที่รู้จักในระดับสากล
โครงการนี้มีเป้าหมายในการพัฒนาผู้ประกอบการ SME จำนวน 740 รายทั่วประเทศ โดยเริ่ม Kick Off ที่จังหวัดบุรีรัมย์เป็นแห่งแรก เนื่องจากจังหวัดบุรีรัมย์ในภาคอีสานตอนล่างที่มีศักยภาพในการผลิตสินค้าและบริการภาคธุรกิจ SME จากนั้นก็จะนำจะขยายต่อไปยังกลุ่มจังหวัดอื่น ๆ ทั้งหมด 18 กลุ่มจังหวัดทั่วประเทศ โดย สสว. มีแผนการเริ่มขยับขยายไปยังภาคเหนือที่จังหวัดเชียงใหม่ ภาคกลางที่จังหวัดเพชรบุรี และกรุงเทพมหานคร ภาคตะวันออกที่จังหวัดจันทบุรี และภาคใต้ที่จังหวัดสงขลา เป็นต้นเพื่อเป็นการพัฒนาต่อยอดสินค้าและบริการ SME และทำให้เกิดการ Start Up ภายใน 2-3 ปีนี้สำหรับโครงการ สสว. นี้
สำหรับงานการเปิดตัวโครงการ SME Soft Power ที่จังหวัดบุรีรัมย์ในวันนี้เป็นการส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์และความมีเสน่ห์ของผลิตภัณฑ์สินค้าไทย SME โดย สสว. ร่วมกับสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย จัดงานเปิดตัวโครงการนี้ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่จังหวัดบุรีรัมย์เป็นแห่งแรก ซึ่งโครงการนี้ครอบคลุมใน 4 สาขาหลัก ได้แก่ การออกแบบแฟชั่น เช่น ผ้าไทย ผ้าไหม ภาพยนตร์ (รวมถึงการผลิตเนื้อหา การตัดต่อ ระบบแสงสีเสียง การจัดการแต่งหน้าผู้แสดง ชุดประกอบฉากและสถานที่ถ่ายทำ) สาขาอาหารไทย และสาขาการท่องเที่ยว (ระบบจองแบบแพลตฟอร์มการท่องเที่ยว สถนที่ท่องเที่ยว ของที่ระลึก การแสดงศิลปะวัฒนธรรม ไกด์ และช่างภาพ)
นอกจากนี้ ในงานกิจกรรมครั้งนี้ได้มีการจัดเสวนากับผู้ประกอบการธุรกิจที่ประสบความสำเร็จในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ SME จากภาคอีสานตอนล่าง ซึ่งเป็นผู้แทนจาก 5 สาขาธุรกิจเข้าร่วม ไม่ว่าจะเป็นด้านอาหาร การออกแบบแฟชั่น การท่องเที่ยว และอุตสาหกรรมภาพยนตร์ ผู้แทนเหล่านี้ได้แสดงทัศนะและแบ่งปันประสบการณ์เกี่ยวกับการดำเนินธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ เช่น การผลิตอาหารกุ้งจ่อม การผลิตกล้วยฉาบ การทำกุนเชียง การผลิตภาพยนตร์เชิงท้องถิ่น เพื่อการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม (รวมถึง ลูกชิ้นยืนกิน ที่เป็น Soft Power ที่โด่งดังมาแล้วจากการโปรโมทโดยศิลปินระดับโลก ลิซ่าหรืออลิสา มโนบาลชาวบุรีรัมย์ ) และการออกแบบแฟชั่นผ้าไหมและผ้าไทยที่มีความโดดเด่น
ในขณะเดียวกัน ก็มีการประชุมเชิงปฏิบัติการเป็นสนทนากลุ่ม Focus Group สำหรับผู้ประกอบการจำนวน 45 รายในกลุ่มจังหวัด นครชัยบุรินทร์ ในภาคอีสานตอนล่าง ที่มาจากจังหวัดนครราชสีมา ชัยภูมิ บุรีรัมย์ และสุรินทร์ เพื่อหาแนวทางพัฒนาผู้ประกอบการในภูมิภาคนี้ โดยได้รับความร่วมมือจากผู้เชี่ยวชาญจากหน่วยงานภาครัฐและสถาบันการศึกษาในการพัฒนาสร้างสรรค์และต่อยอดสินค้าและบริการในกลุ่ม SME ที่มีศักยภาพด้านการเสริมสร้าง Soft Power ให้แก่ผู้ประกอบการในจังหวัดบุรีรัมย์และพื้นที่ใกล้เคียงในภาคอีสานตอนล่างเป็นอันดับแรก
ในงานเปิดตัวโครงการพัฒนาผู้ประกอบการธุรกิจ SME ของ สสว.ครั้งนี้ ได้รับเกียรติจากคุณอภิชิต ประสงค์รัฐ กรรมการบริหารสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) ซึ่งดำรงตำแหน่งรองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ที่ได้กล่าวกับ Buri Ram Post ว่า งานนี้เป็นการบ่มเพาะและส่งเสริมธุรกิจ SME เพื่อให้เป็น Soft Power ขยายตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศ เป็นการพัฒนากลุ่มจังหวัดที่มีผู้ประกอบการ SME รายใหม่ๆ ที่ดำเนินธุรกิจด้านอาหาร การท่องเที่ยว การออกแบบแฟชั่น และการผลิตภาพยนตร์ให้เติบโตอย่างยั่งยืน และช่วยเสริมสร้างศักยภาพให้แก่เศรษฐกิจไทย โดยเป็นการเปิดช่องทางหาแหล่งเงินทุนให้กับผู้ประกอบการ SME อีกด้วย
การพัฒนาของ สสว. ในครั้งนี้หวังว่าจะเป็นการผลักดันให้ผู้ประกอบการ SME สามารถขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศได้อย่างต่อเนื่อง ครอบคลุมทั่วทุกภาคของประเทศ ไม่ว่าจะเป็นภาคอีสานตอนบน ตอนกลาง หรือตอนล่าง ภาคเหนือ ภาคตะวันออก ภาคใต้และภาคกลาง ซึ่งจะทำให้ธุรกิจ SME กลายเป็นจุดแข็งและเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศไทย
ในส่วนของการริเริ่ม Start Up ครั้งนี้ เป็นความก้าวหน้าของโครงการในภาคอีสานตอนล่างที่จังหวัดบุรีรัมย์ เป็นการสร้างฐานการเติบโตที่สำคัญสำหรับการขยายตัวต่อไปในภาคอื่นๆ ของประเทศต่อไปอีกด้วย สำหรับผู้เข้าร่วมเสวนาบนเวทีครั้งนี้ มีจำนวน 5 ท่าน ซึ่งล้วนเป็นผู้ประกอบการธุรกิจ SME ที่มีความสำเร็จโดดเด่นในภาคอีสานตอนล่างได้แบ่งปันประสบการณ์ในการบริหารธุรกิจ SME ที่สามารถเติบโตได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ส่วนงานปิดโครงการ “พัฒนา SME Soft Power” ของ สสว.นี้ก็จะจัดขึ้นในวันที่ 2 ธันวาคมนี้ ที่ศูนย์การค้าเซ็นทรัล พระราม 9 กรุงเทพมหานคร โดยงานนี้จะเป็นการสรุปผลและแสดงผลงานของผู้ประกอบการ SME ที่เข้าร่วมโครงการและได้รับการพัฒนาศักยภาพรวมถึงผู้ประกอบการที่ได้รับรางวัล SME Soft Power Star ในปีนี้ ส่วนงานปิดโครงการพัฒนา SME Sock Power ครั้งนี้ก็จะเสร็จสิ้นในเดือน วันที่ 2 ธันวาคม 2567 ซึ่งจะจัดงานปิดโครงการที่เซ็นทรัลพระราม 9 กรุงเทพมหานคร
การพัฒนา SME: โครงการส่งเสริม Soft Power และการสร้างโอกาสใหม่ให้กับผู้ประกอบการในภาคอีสานตอนล่าง กลุ่มนครชัยบุรินทร์ มีผู้ประกอบการประมาณ 43 ถึง 45 รายซึ่งรวมถึงพื้นที่ จังหวัดนครราชสีมา ชัยภูมิ บุรีรัมย์ และสุรินทร์ มีการดำเนินงานพัฒนาผู้ประกอบการ SME ใน 4 สาขาหลัก ได้แก่ อาหาร การท่องเที่ยว ภาพยนตร์ และการออกแบบแฟชั่น โครงการนี้มุ่งเน้นที่การส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพของผู้ประกอบการ SME รายใหม่ๆ ซึ่งจะครอบคลุมกลุ่มเป้าหมาย 18 กลุ่มจังหวัดทั่วประเทศ โดยมีเป้าหมายในการพัฒนาผู้ประกอบการใหม่และมีศักยภาพ จำนวน 740 รายทั่วประเทศ แล้ว สสว. ก็จะมีการคัดเลือกและการประกาศรางวัล ภายใต้โครงการนี้ จะมีการคัดเลือกผู้ประกอบการที่โดดเด่นเพื่อรับรางวัล SME Soft Power Star จำนวนประมาณ 76 รายจากทั่วประเทศ ผลิตภัณฑ์และบริการที่ได้รับรางวัลจะถูกบันทึกและผลิตในแคตตาล็อกสองภาษา เพื่อการจำหน่ายทั้งในประเทศและต่างประเทศ ผู้ชนะในแต่ละสาขาจะได้รับโล่รางวัล ในวันปิดโครงการ
จากการเสวนาและกิจกรรมการแบ่งปันประสบการณ์ในงานเสวนาในวันนี้ ผู้ประกอบการที่ประสบความสำเร็จจากการผลิตกล้วยฉาบ กุ้งจ่อม กุนเชียง การท่องเที่ยว และบทภาพยนตร์ รวมถึงการออกแบบแฟชั่น ได้มาร่วมแบ่งปันประสบการณ์และแนวทางในการดำเนินธุรกิจ ซึ่งเป็นการจุดประกายStart Up และกระตุ้นการพัฒนาในพื้นที่ กรณีศึกษาที่สำคัญ หนึ่งในกรณีศึกษาที่น่าสนใจคือการโปรโมทลูกชิ้นยืนกินซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของจังหวัดบุรีรัมย์ โดยดาราศิลปิน K-pop เกาหลี ลิซ่า มโนบาล การโปรโมทนี้ทำให้ลูกชิ้นยืนกินได้รับความสนใจจากทั้งในและต่างประเทศ และเป็นตัวอย่างของการเปลี่ยนวิกฤตให้เป็นโอกาสคือช่วยให้ธุรกิจที่กำลังเผชิญปัญหาได้กลับมาฟื้นฟูอีกครั้ง
นอกจากการส่งเสริม Soft Power ผ่านการโปรโมทลูกชิ้นยืนกินบุรีรัมย์แล้ว โครงการนี้ยังมุ่งเน้นการพัฒนาสินค้า OTOP ของจังหวัดในภาคอีสานตอนล่างการพัฒนาสินค้า OTOP เพื่อให้ได้รับการสนับสนุนเป็น Soft Power โดยการพัฒนาและส่งเสริมสินค้าในกลุ่มนี้จะช่วยสร้างความแข็งแกร่งให้กับเศรษฐกิจท้องถิ่นและเปิดโอกาสใหม่ๆ ให้กับผู้ประกอบการ
นายวรพงษ์ บุษบา เจ้าหน้าที่จากสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย กล่าวว่า Buri Ram Post ว่าในกลุ่ม 18 จังหวัดนี้ แต่ละกลุ่มจะมีจำนวน 43-45 รายที่ทำธุรกิจ SME โดยโครงการนี้จะมีการสนับสนุนจากผู้เชี่ยวชาญเพื่อยกระดับความแข็งแกร่งของ SME การสนับสนุนนี้เป็นความร่วมมือระหว่างจังหวัดบุรีรัมย์ สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) และสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยที่มีส่วนร่วมและมีบทบาทของหน่วยงานที่สำคัญในการสนับสนุนโครงการนี้
พัชรียา รักษาการผู้อำนวยการ สสว. กล่าวถึง สำหรับความตั้งใจของ สสว. หรือความมุ่งมั่นในการพัฒนาผู้ประกอบการ SME โดยมีเป้าหมายในการพัฒนา 740 รายทั่วประเทศว่าบางรายอาจพร้อมสำหรับการทำตลาดทันที ในขณะที่บางรายต้องการการพัฒนาเพิ่มเติมก่อนที่จะสามารถเข้าสู่ตลาดได้อย่างมีประสิทธิภาพ การพัฒนา SME จะครอบคลุมหลากหลายประเภท เช่น อาหาร การออกแบบแฟชั่น การท่องเที่ยว และภาพยนตร์ โดยมีการสนับสนุนทั้งในด้านการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ การทำตลาด และการสร้างเครือข่ายที่จำเป็นสำหรับการเติบโตอย่างยั่งยืน ถือว่า เป็นการสร้างโอกาสจากโครงการนี้ไม่เพียงแต่เป็นการเริ่มต้นที่ดีในการพัฒนาธุรกิจ SME แต่ยังเป็นการสร้างโอกาสในการขยายตลาดและการสร้างความยั่งยืนให้กับเศรษฐกิจของประเทศ แล้วจะมีการติดตามและประเมินผลการดำเนินงานที่จะช่วยให้โครงการนี้สามารถปรับปรุงและพัฒนาได้อย่างต่อเนื่อง
ภายใต้การส่งเสริมและพัฒนาการเริ่มต้นเป็นผู้ประกอบการ SME ด้วย Soft Power ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ(อีสาน) ณ จังหวัดบุรีรัมย์ เป็นแห่งแรกของ 5 ภูมิภาค สำหรับภาคตะวันออกเฉียงเหนือ(อีสาน) ดำเนินการใน 5 กลุ่มจังหวัดคือ กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 1 (อุดรธานี หนองบัวลำภู หนองคาย เลยและ บึงกาฬ) กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 2 (มุกดาหาร สกลนครและ นครพนม) กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนกลาง (ขอนแก่น มหาสารคาม ร้อยเอ็ดและกาฬสินธุ์) กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 1 (นครราชสีมา ชัยภูมิ บุรีรัมย์ สุรินทร์) กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 2 (อุบลราชธานี อำนาจเจริญ ศรีษะเกษ และยโสธร)
ทั้งนี้ ผู้ประกอบการที่สนใจสามารถสมัครได้ที่ bit.ly/smeSP หรือสอบถามไปยังสภาอุตสาหกรรมจังหวัดได้ทุกจังหวัดตามพื้นที่ดำเนินการอยู่ และ สสว. คาดหวังให้โครงการนี้ เกิดประโยชน์และบรรลุเป้าหมายตามที่ทุกฝ่ายตั้งไว้ เกิดผู้ประกอบการใหม่ที่มีศักยภาพ พร้อมจะเติบโตเป็นกำลังสำคัญของประเทศต่อไป หรือผู้สนใจสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) โทรศัพท์ 02-142-9114 สถาบัน SMI สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย โทร.02- 345-1093 หรือ 02-345-1049 Call center 1453
ภาพ/ข่าว : พิษณุ เทพทอง /เดอะอิสระนิวส์